โครงการออนไลน์ | ไม่มีค่าใช้จ่าย

หากคุณกำลังดูแล คุณพ่อ คุณแม่ ญาติ คนรัก ที่เป็นโรคสมองเสื่อม

ถ้าไม่รู้จะดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอย่างไร?

เกี่ยวกับโครงการ

ขั้นตอนที่ 1: กรอกฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการ และให้ข้อมูลรายละเอียดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์​

กดสมัคร กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน (หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย อาการสมองเสื่อม เจ้าหน้าที่จะมีการทำการประเมินอาการ เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม)

ช่วง กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อรับเข้าโครงการ และดำเนินการสอบถามข้อมูลให้ครบถ้วนต่อไป ผ่านทางโทรศัพท์ LINE OA หรือ ช่องทางอื่น

ขั้นตอนที่ 2: รับคู่มือผู้ดูแลเฉพาะบุคคล

ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ (หลังการให้ข้อมูล) คู่มือแนะนำผู้ดูแลเฉพาะบุคคล พร้อมมีเจ้าหน้าที่คอยรับฟังและติดตามให้ข้อมูล + แจ้งผลจากประเมินเบื้องต้นในมิติต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น เพื่อความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงปัญหา ทราบแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น พร้อมคำแนะนำเฉพาะบุคคล จากกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ผู้สูงอายุ พยาบาล และนักจิตวิทยา เป็นต้น เพื่อเป็นเสมือนคู่มือส่วนตัวให้แนวทางช่วยผู้ดูแล ตามหลักการการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3: ปรึกษาแบบกลุ่มย่อยกับ พยาบาลวิชาชีพ และนักจิตวิทยาคลินิก

ร่วมกิจกรรม “ปรึกษาแบบกลุ่มกับพยาบาลวิชาชีพ และนักจิตวิทยาคลินิก กลุ่มละ 1 ครั้ง” (ครั้งละ 1 ชม. ออนไลน์) + ผู้ดูแลจะได้เรียนรู้เข้าใจผู้ป่วยและอาการโรคในเชิงจิตวิทยาเพิ่มขึ้นจากการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มผู้ดูแลประจำครอบครัว (กลุ่มย่อย) เพื่อเรียนรู้ พัฒนาและดูแลจิตใจไปด้วยกัน

อจ. อรอนงค์ สงเจริญ

นักจิตวิทยาคลินิก | นักวิชาการอิสระ | อาจารย์พิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น โรงพยาบาลศิริราช

อดีตรองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และอดีตอาจารย์ประจําหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต หัวหน้าเอก การปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาลัยราชสุดา)

ปริญญาเอก : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ปริญญาโท : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ว่าที่ร้อยตรีหญิง พิชชานันท์ เฉินกรอภิวัฒน์

พยาบาลวิชาชีพ ประสบการณ์ทำงาน  ปี 2555 – ปัจจุบัน 12 ปี

พยาบาลส่วนตัว การเฝ้าไข้พิเศษ: การดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายตามความประสงค์ของผู้ป่วย/ญาติ ตามมาตรฐานวิชาชีพ เคสที่ดูแล เช่น ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ICU และผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด เป็นต้น

พยาบาล ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ: ดูแลผู้ป่วยผ่านโปรแกรม Consumer and Carer Consultation และ Community and Family Reintegration ที่จะสนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวช สามารถฟื้นคืนสู่ศักยภาพเดิมให้มากที่สุด

อภิญญา อำนวยสกุล

ผู้จัดการโครงการ

Head of Marketing & Medical Service Development ออกแบบพัฒนากลยุทธ์การตลาด ตราสินค้า บริหารจัดการพัฒนาสื่อสารการตลาด สื่อออนไลน์และดิจิตอล วางแผนและพัฒนาคอนเท้นท์ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพกายใจ

ผู้นำทีมชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ในโครงการพัฒนานวัตกรสุขภาพจิต “Minds to the Moon” ปี 2567 ของกรมสุขภาพจิต, สถาบัน TIMS และ Thaihealth Academy (แพลตฟอร์มเสริมพลังผู้ดูแล Caregiver Empowerment Platform - สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม)

แรงบันดาลใจ ในการทำโครงการ

สาเหตุที่เลือกทำโครงการ เพราะจากการสัมภาษณ์เพื่อน ๆ และคนรอบตัวที่ต้องดูแลคุณพ่อ คุณแม่ หรืออาม่า อากง ที่เป็นโรคสมองเสื่อมเอง เราพบว่า หลายครอบครัวมีปัญหามากกว่าแค่เรื่องการแพทย์

ทีมงานจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะช่วยเหลือเสริมพลังครอบครัวผู้ดูแลโรคสมองเสื่อม ที่ดูแลเองที่บ้าน แต่ไม่มีเวลาเรียนรู้ หรือพัฒนาจิตใจตนเองเพื่อรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ได้มากนัก

“การต้องต่อสู้ลำพัง เป็นเวลาหลายปี กับอาการโรคที่ คาดเดาไม่ได้ และการที่คนที่เรารัก ลืมความทรงจำเก่า ๆ มันเจ็บปวด และทรมานเกินไป”

– คุณอภิญญา อำนวยสกุล, ผู้จัดการโครงการ

Client Testimonials

“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name
“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name
“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name

This website uses cookies. By continuing to use this site, you accept our use of cookies.